Mystery Things Museum: สิ่งลึกลับจากอัตวิสัย

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงาน พิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับ (Mystery Things Museum) โดยทีมงาน IdLab ซึ่งจัดขึ้นในครั้งแรก เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม 2559 ณ Tim Space และล่าสุด ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ณ Base Milano ภายในงานแม้จะเป็นพื้นที่เล็กๆ กลับมีผู้สนใจเข้าชมจำนวนไม่น้อย โดยงาน พิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับครั้งที่ ๒ ที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไปนี้ ทางผู้จัดงานได้เนรมิตพื้นที่ส่วนกลางของโฮสเทล และห้องพักขนาดกระทัดรัดจำนวน ๓ ห้อง เป็นพื้นที่จัดแสดงงาน

ภาพจาก Mystery Things Museum

ภาพจาก Mystery Things Museum

ภาพจาก Mystery Things Museum

ภาพจาก Mystery Things Museum

ผู้ชมงานสามารถเดินชมของที่นำมาจัดวางได้โดยอิสระ ผู้จัดงานจะชวนให้เราคิดว่า ของแต่ละอย่างคืออะไร เราเห็นอะไร และของนั้นเอาไว้ทำอะไร ด้วยความที่เราเป็นนักออกแบบ หลายชิ้นที่เราไม่รู้จักเรากลับสนุกไปกับการขบคิดถึงการใช้งาน หลายชิ้นผู้เขียนคุ้นเคยเพราะเป็นของที่เยาวราชบ้านเราก็มี เช่นพวกของที่ชาวจีนในไทยนิยมนำไปเผาให้บรรพบุรุษ ไปจนถึงของที่เราไม่รู้จักและนึกไม่ออกเลยจนนิดเดียวว่ามันจะเอาไว้ใช้ทำอะไร

"ของบางอย่างน่าจะต้องถูกคัดออกหน่อยนะ ดูไม่แปลกสักเท่าไหร่"
เสียงจากผู้เข้าร่วมงานชาวเอเชียคนหนึ่งลอยเข้ามากระทบหู ชวนให้เราคิดว่า เออ...ของหลายอย่างเราดูแล้วไม่เห็นแปลกเหมือนกัน อาจเพราะมีของจากไทย จีน เอเชีย อีกทั้งผู้เขียนคาดว่าผู้พูดคาดหวังว่าจะได้เห็นสิ่งของที่มี ความแปลก ความลึกลับ ตามชื่องาน แต่ผู้พูดอาจจะไม่ทราบแนวความคิดของพิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับนี้

ของชิ้นเล็กๆ หลายชิ้นดูแปลกตา เมื่อหยิบของชิ้นหนึ่งๆขึ้นมาพิจารณา จะพบว่ามีป้ายกระดาษที่ระบุว่าของชิ้นนั้นนำมาจากที่ใด รวมถึงชื่อของผู้นำของนั้นมา ผู้เขียนคิดว่านี่คือสาระสำคัญของงานนี้ เนื่องจากทางผู้จัดงานตั้งใจให้งานนี้เป็นการจัดแสดง ของที่ผู้เข้าชมงานเห็นว่าแปลก ลึกลับ น่าสนใจ และนำมาส่งให้กับทางพิพิธภัณฑ์ เราจึงอนุมานได้ว่า งานพิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับนี้เป็นการระดมไอเดีย (Crowdsourcing) โดยมีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นของแปลก ภายใต้คำจำกัดความว่า เป็นวัตถุที่สวยงาม แต่ไม่อาจทำให้เราเข้าใจถึงการใช้งานหรือเหตุแห่งการมีอยู่ของมัน จะต้องเป็นวัตถุขนาดเล็ก เหมาะกับการจัดแสดงบนโต๊ะ และไม่เป็นของมีค่า ราคาสูง ทำให้มีวัตถุแปลกๆจากที่ต่างๆทั่วโลก

ผู้เขียนเข้าใจว่างานพิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานหลักที่ว่าวัตถุทุกอย่างถูกสร้างขึ้นมาโดยตอบสนองวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง (Production percedes existence) จึงตั้งใจจะรวมรวมของที่เป็นวัตถุที่สวยงาม แต่ไม่อาจทำให้เราเข้าใจถึงการใช้งานหรือเหตุแห่งการมีอยู่ของมัน 

แล้วอะไรที่ทำให้เราเห็นว่าวัตถุนั้นแปลก ลึกลับ?

จากการสำรวจ ผู้เขียนพบแนวทางหลักๆของ’ความลึกลับ’ดังต่อไปนี้

1. ลึกลับด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม

Oggetto misterioso n.5 Che cos’è questa cosa che vedi in foto? Come funziona? A cosa serve?

A photo posted by Mystery Things Museum (@mysterythingsmuseum) on

ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมนั้นมีผลต่อมุมมองที่เรามีต่อสิ่งต่างๆรอบตัวไม่น้อย อย่างคอลเล็กชั่นนี้ที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาแสดง เราที่เป็นคนไทยเห็นแล้วคงเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมอย่างชาวจีน แต่ชาวต่างชาติเมื่อเขาได้เห็นกลับฉงน สงสัย และพิจารณาวัตถุนั้นๆในแง่ของความงามแทน

2..ลึกลับด้วยความแตกต่างทางกาลเวลา

Oggetto misterioso n.6 Che cos’è questa cosa che vedi in foto? Come funziona? A cosa serve?

A photo posted by Mystery Things Museum (@mysterythingsmuseum) on

ของเก่าที่ค่อยๆเลือนหายไปตามกาลเวลา อันเป็นผลมาจากสังคมที่ค่อยๆปรับเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ(อย่างปราศจากสิ่งเร้า) วัตถุตามภาพนี้เป็นของไทย เพราะสังเกตได้จากเลขไทยที่ปรากฏ แต่ผู้เขียนไม่ทราบเลยจนนิดเดียวว่าของนี้มาจากยุคไหน และเอาไว้ทำอะไร จึงเป็นวัตถุลึกลับในมุมมองของผู้เขียนเช่นกัน

3. ลึกลับด้วยผลจากการปฏิวัติต่างๆ 

ภาพจาก Mystery Things Museum

ภาพจาก Mystery Things Museum

ส่วนที่ผู้เขียนประทับใจของงาน คือการได้ฟังการแนะนำคอลเลกชั่นที่ Gianfranco Cavaglià สถาปนิกชื่อดังชาวอิตาเลียนได้เลือกมา ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบการผลิตอุตสาหกรรม และหัตถอุตสาหกรรม คุณ Gianfranco Cavaglià แนะนำวัตถุแต่ละชิ้น เช่น อุปกรณ์ขัดโค้งในการผลิตรถ อุปกรณ์ช่วยทำรองเท้าสำหรับช่าง และกล่าวถึงการที่เขาตีความวัตถุเหล่านี้ว่าแปลกและลึกลับ อันเป็นผลมาจากการที่ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมได้เข้ามาแทนที่การผลิตแบบดั้งเดิม ทำให้วิชาชีพต่างๆค่อยๆหายไป อันเนื่องมาจากความต้องการการผลิตลักษณะนี้ลดลง

4. ลึกลับจากการรับรู้และการตีความส่วนบุคคล

Oggetto misterioso n. 22 di Camilla Marini, provenienza Giappone Che cos’è questa cosa che vedi in foto? Come funziona? A cosa serve?

Una foto pubblicata da Mystery Things Museum (@mysterythingsmuseum) in data:

หลายสิ่งเป็นของที่เราไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย ทว่าเป็นของที่ใช้กันทั่วไปแม้จะอยู่ในสังคมที่แตกต่างกัน บางอย่างดูเป็นของที่ไม่น่าจะมีการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง แต่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานอย่างเฉพาะเจาะจง บางอย่างดูไม่สามารถจะนำไปใช้เป็นอะไรได้เลยสักอย่าง แต่กลับนำไปใช้ตอบสนองความต้องการต่างๆได้มากมาย ชวนให้เกิดคำถามว่าคนที่เขาสร้างขึ้นมาเขาตั้งใจให้เป็นอะไรกันแน่


5.ความแปลกที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของผู้สร้าง

Oggetto misterioso n. 61 di @risveglio, provenienza Londra. Che cos’è questa cosa che vedi in foto? Come funziona? A cosa serve?

A photo posted by Mystery Things Museum (@mysterythingsmuseum) on

ของที่ตั้งใจจะทำมาให้แปลก อันเกิดจากการตีความรูปร่าง คุณลักษณะ และการใช้งานใหม่ มักมาในรูปแบบของเล่น ของสะสม ของตกแต่ง เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาทั่วไป

Oggetto misterioso n.11 di Giulia Vai, provenienza Italia Che cos’è questa cosa che vedi in foto? Come funziona? A cosa serve?

A photo posted by Mystery Things Museum (@mysterythingsmuseum) on

ความประทับใจของผู้เขียน คือการที่ได้เห็นมุมมองของผู้มาเข้าชมงานที่มองว่าอะไรแปลก หรือการที่ผู้ชมมองว่าวัตถุนั้นถูกออกแบบมาเพื่อการอันสวนทางกับความตั้งใจของผู้สร้างโดยสิ้นเชิง

ถ้าจะมีวัตถุที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่าเป็นของแปลก ผู้เขียนเดาว่ามันคงเป็นวัตถุจากนอกโลก หรือวัตถุทางประวัติศาสตร์เก่าแก่นับล้านปี หรือหลุดมาจากอนาคต(ถ้าการเดินทางข้ามเวลามีจริง)

ดังนั้นของที่ถูกนำมายังพิพิธภัณฑ์สิ่งลึกลับ  จึงเรียกว่าเป็นความแปลกโดยอัตวิสัย

เรียกว่าที่บ้านมีอะไรที่เราเห็นแปลก เราก็คงหยิบไป แต่น่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่มีนิสัยซื้อของแปลกมาสะสมเลยแม้แต่นิดเดียว จึงเก็บไปเป็นการบ้านหากมีงานจัดงานครั้งต่อไป

Niche Chathong
A Multi-disclipline Designer and Social network communication strategist who have an eagle-eye for living trends.
Next
Next

Chair 3/4 : นิยามใหม่ของเก้าอี้